ในยุค 4.0 หรือ Smart City บางก็เรียกว่า “Smart Automation” เป็นโลกของยุค Digital ในมุมของ Logistics 4.0 ก็จะเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในกิจกรรมต่าง ๆ ของการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ หากมองแนวคิดของโลจิสติกส์ซึ่งถือเป็นงานบริหารจัดการความต้องการของ Demand และ Supply การพัฒนาในยุค Logistics 4.0 จะช่วยให้ช่องว่างระหว่างโซ่อุปทานสั้นลง

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในกิจกรรมต่าง ๆ ของการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์หากมองแนวคิดของโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นการบริหารความต้องการของ Demand และ Supply การพัฒนาในยุค Logistics 4.0 จะช่วยให้ซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ผลิตสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น

logistics ยุค 4.0

ช่องว่างระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่แคบลงไม่ได้หมายถึงธุรกิจหรือคนกลางที่อยู่ในซัพพลายเชนจะถูกตัดออกไป แต่จะอยู่รอดได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว และความสามารถของการเพิ่มและส่งต่อคุณค่าที่มีอยู่ในวันที่โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ทั้งภาคการผลิตที่เปลี่ยนจาก Mass Production มาสู่ Customized Production ภาคโลจิสติกส์ต้องแข่งขันกันด้วยความสามารถในการบริหารจัดการ Demand and Supply ส่วนภาคธุรกิจการค้าต้องเข้าถึงและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าด้วยวิถีทางการตลาดเพื่อส่งผ่านคุณค่าของสินค้าสู่ผู้บริโภค

ประเทศไทยของเรา มีลักษณะของผู้ประกอบการซึ่งเป็น SME โดยส่วนใหญ่ ซึ่งก็เข้าสู่ยุคของ SME 4.0 ที่ผู้ประกอบการ SME ทั้งประเทศจะต้องเข้าใจ หากอธิบายง่าย ๆ ก็คือ SME 4.0 ต้องมี Digital เข้ามาช่วย ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยมีธง คือ อุตสาหกรรม 4.0 หรือ Industry 4.0 เป็นหัวใจหลัก ถามว่า “ทำไมต้อง 4.0” นั่นเป็นเพราะว่าการแข่งขันในเวทีโลก มีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่ประเทศไทยจะชนะการแข่งขันได้ ก็คือต้องใช้ Digital เป็นสิ่งที่เราต้องตื่นตัว เพื่อปรับตัว แล้วตามให้ทัน ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เช่น หากกิจการเรา มีเครื่องจักรอยู่แล้ว แต่เดิมผลิตงานได้ที่ 50% อาจจะต้องมาคิดใหม่ว่า นอกเหนือจากผลิตของที่มีอยู่ เรารับจ้างผลิตได้หรือไม่ หรือเราจ้างเขาผลิตอีกต่อหนึ่ง เพื่อให้เครื่องจักร ใช้งานได้ 80-90% ได้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้เรา มีต้นทุนที่ต่ำลง รวมไปถึงต้องต่อยอดเชิงนวัตกรรม ใส่ Design เข้าไป นั่นก็เป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะยุคนี้ไม่เพียงแค่ต้องมี Digital แต่ต้องเชื่อมร้อยข้อมูลเข้าด้วยกัน ให้สอดรับไปกับ Industry 4.0

โมเดลประเทศไทย 4.0 เป็นการพัฒนาแบบ “Value-added Economy” ที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม แทนที่จะเป็นสินค้าแบบ Commodity เน้นเทคโนโลยี แทนที่จะเป็นอุตสาหกรรม และเน้นการบริการ มากกว่าขายสินค้า เป้าหมายหลักของรัฐอยู่ที่ 5 อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีองค์ความรู้ และศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดได้ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เกษตรและไบโอเทคโนโลยี (Food, Agriculture & Bio-tech) กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ (Health, Wellness & Bio-Medical) กลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์อัจฉริยะ และหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Smart Devices Robotics &Mechatronics) กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล พัฒนาระบบการสื่อสาร และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Digital &Embedded Technology) กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และการเพิ่มมูลค่าการบริการ (Creative, Culture &High Value Service)

จากที่ประเทศไทยมีความสามารถด้านการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง และพบแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากไปในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น จึงต้องดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใหม่ที่ทันสมัย เปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากการพึ่งพาการผลิตไปสู่การผลิตสมัยใหม่ที่ใช้ความรู้การผลิตขั้นสูงที่มีมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ (Knowledge Based Industry) คณะทำงานนี้มีเป้าหมายที่จะพัฒนา 10 อุตสาหกรรมที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต โดย 5 อุตสาหกรรมใหม่ที่จะเป็น New S-Curve ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม การแพทย์ครบวงจร ขนส่งและการบิน และเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ในขณะที่อีก 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพเป็น S-Curve ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปอาหาร

โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ถือเป็น New S-Curve ของประเทศที่ประสบความสำเร็จในอดีต สามารถทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ สร้างงานสร้างรายได้ ผลักดันการลงทุนตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ ในระยะแรกชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกควรเป็นพื้นที่หลักในการส่งเสริมการพัฒนา เนื่องจากมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของ AEC ควรพัฒนาต่อยอดสร้างเป็นกลุ่มคลัสเตอร์ของธุรกิจและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมให้อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ลดอุปสรรคเพื่อพัฒนาห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) และข้อกฎหมายสนับสนุนการลงทุน การสร้างนวัตรรมและผู้ประกอบการรายใหม่ (Start-Ups) ซึ่งควรเร่งรัดให้ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรีและฉะเชิงเทรา เป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ (แต่ละจังหวัดจะมีเป้าหมายที่เชื่อมโยง เช่น ฉะเชิงเทราจะเป็นเมืองน่าอยู่ รองรับการขยายตัวของกรุงเทพฝั่งตะวันออก ในขณะที่ ศรีราชา-แหลมฉบังจะเป็นเมืองอุตสาหกรรมผลิตสมัยใหม่ เพื่อเชื่อมสู่การผลิตภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอาเซียน เป็นต้น) ที่มีการกำกับดูแลโดยมีองค์กรส่วนกลางจัดทำนโยบายและอำนวยความสะดวกการลงทุน คณะทำงานได้จัดกรอบในการดำเนินงานออกเป็น 5 กลุ่มคือ 1.อุตสาหกรรมต่อยอดในพื้นที่เดิม ที่ตั้งในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 2.Bio-economy เน้นการพัฒนาจากเศรษฐกิจฐานเกษตรกรรม 3.Digital Economy มุ่งเน้นขับเคลื่อนเรื่อง e-Commerce ทบทวนกฎหมายและกลไกที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมผู้ประกอบการ e-Commerce โดยมีแหล่งความรู้ผู้ประกอบการด้วย 4.อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ โดยยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้เข้าสู่ Industry 4.0 และ 5.อุตสาหกรรมระบบโลจิสติกส์ เน้นการขับเคลื่อนระบบขนส่งในภาพรวมเพื่อสร้างความเชื่อมโยงสู่การเป็นศูนย์รวมกิจการโลจิสติกส์และเชื่อมโยงกับระบบ e-Commerce ในภูมิภาค และนั่นหมายถึง จะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโลจิสติกส์ที่จะทำให้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดำเนินการได้อย่างไม่ติดขัด

ในยุค 4.0 หรือ Smart City บางก็เรียกว่า “Smart Automation” เป็นโลกของยุค Digital ในมุมของ Logistics 4.0 ก็จะเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในกิจกรรมต่าง ๆ ของการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ หากมองแนวคิดของโลจิสติกส์ซึ่งถือเป็นงานบริหารจัดการความต้องการของ Demand และ Supply การพัฒนาในยุค Logistics 4.0 จะช่วยให้ช่องว่างระหว่างโซ่อุปทานสั้นลง ผู้ผลิตสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น การพัฒนาประสิทธิภาพระหว่างโซ่อุปทานสูงขึ้น อย่างไรก็ตามช่องว่างระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่แคบลงไม่ได้หมายถึงธุรกิจหรือคนกลางที่อยู่ในสายโซ่อุปทานจะถูกตัดออกไป ยังคงมีอยู่ แต่จะอยู่รอดได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว และความสามารถของการเพิ่มและส่งต่อคุณค่าที่มีอยู่ในวันที่โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ทั้งภาคการผลิตที่เปลี่ยนจาก Mass Production มาสู่ Customized Production ภาคโลจิสติกส์ต้องแข่งขันกันด้วยความสามารถในการบริหารจัดการ Demand and Supply ส่วนภาคธุรกิจการค้าต้องเข้าถึงและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าด้วยวิถีทางการตลาดเพื่อส่งผ่านคุณค่าของสินค้าสู่ผู้บริโภค

สิ่งที่ต้องให้ความสนใจคือ ผู้ประกอบการไทยพร้อมที่จะเข้าสู่การแข่งขันในยุคนี้แล้วหรือไม่ เพราะหากผู้ประกอบการไทยสามารถปรับใช้แนวคิด และพัฒนาการของ Industrial 4.0 และ Logistics 4.0 และ Marketing 4.0 ให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ จะก่อให้เกิดประโยชน์และมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ ทั้งยังสามารถยืนหยัดแข่งขันกับคู่แข่งในเวทีโลกได้ แต่หากพิจารณาสถานะปัจจุบันของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายกลางและย่อย (SMEs) พบว่ายังขาดความพร้อมในหลายด้าน เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวสำหรับการแข่งขันในโลกยุคดิจิทัล ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนเองให้เข้าสู่ Digital Process

ในการผลักดันโมเดลตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ประเทศไทยจะต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจจากเดิมที่เป็นการผลิตโดยใช้แรงงาน เครื่องจักรและทรัพยากรต้องเปลี่ยนเป็นการผลิตบนฐานความรู้และเทคโนโลยี (Technology Base) การพัฒนาภาคบริการ รวมทั้งต้องมีการปฏิรูปการวิจัยและพัฒนา ดึงสถาบันวิจัยระดับโลกเข้ามาตั้งในประเทศไทย และการปฏิรูประบบการศึกษา ต้องเน้นไปที่การสร้างแรงงานที่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี เพื่อสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต เราคงจะต้องดูกันต่อไปว่า แผนพัฒนาระดับชาติที่เป็นเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนี้จะสำเร็จอย่างสวยงามหรือไม่ สิ่งสำคัญ คือ ความสามัคคีของคนในชาติ ที่จะร่วมแรงร่วมใจช่วยกันผลักดันให้ประเทศเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยไม่แตกแยกและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน