smart and digital

ทิศทางและอนาคตของธุรกิจขนส่งในยุคไทยแลนด์ 4.0 “Where is smart transport & Logistics heading for Thailand ?” อุตสาหกรรมขนส่งของไทยในปัจจุบันยังไม่สมาร์ทมาก ภาครัฐจึงมีความท้าทายสำคัญในการปรับเปลี่ยน (ทรานส์ฟอร์ม) แต่ไม่ใช่แค่ทำให้ “สมาร์ท” เท่านั้น ต้องไปถึงเรื่องความยั่งยืนด้วย เพราะไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องเน้นด้านโครงสร้างพื้นฐานให้ทันประเทศอื่น ปัจจุบัน 80% ของงบฯลงทุนใช้ที่โครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะขนส่งทางราง และทางน้ำ เพราะต้นทุนต่ำกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ ดังนั้นความท้าทายคือทำอย่างไรจะรักษาสมดุลในการส่งเสริม เนื่องจากเอกชนไปเร็วกว่ามาก รวมถึงเรื่องกฎหมายที่ต้องดูแล

“การทรานส์ฟอร์มของรัฐเดินไปได้ไม่เร็วเท่าภาคเอกชน ขณะที่ภาพใหญ่ที่ต้องเดินไปพร้อม ๆ กัน อยากให้มีการแชร์ดาต้าร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนซ้ำซ้อน และใช้โครงสร้างพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ตอนนี้รถไฟเราเป็นรางเดี่ยว 90% การจะทำให้รวดเร็วต้องมีรางคู่ เพื่อประหยัดทั้งงบฯและเวลา อีกสิ่งที่พยายามตามให้ทัน คือ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม ไม่ใช่แค่บริการดี แต่ต้องมีการทำงานแบบบูรณาการ” อย่างไรก็ตาม การจะเปลี่ยนอุตสาหกรรมเป็นสมาร์ททรานสปอร์ต และสมาร์ทโลจิสติกส์ได้ จะต้องมีเป้าหมายชัดเจน และตามเทรนด์โลกให้ทัน เช่น สหรัฐมีแนวคิดเรื่องโดรนขนส่งเพื่อให้มีความรวดเร็ว ดังนั้น สิ่งที่ต้องคิดให้มาก คือ พื้นฐาน เช่น การให้บริการลูกค้า, ระยะเวลา, ค่าใช้จ่าย และต้นทุน การใช้เทคโนโลยีต้องนำมาเสริมหัวข้อเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งไปอย่างโดดเดียวไม่ได้ ต้องมีพาร์ตเนอร์

ท่าเรือหลักที่ทำงานรับส่งสินค้า คือท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเต็มที่ จึงเกิดปัญหากับทุกฝ่าย เช่น ต้องรอ 7 ชั่วโมงกว่าจะเอาของลงท่าเรือได้ ดังนั้นจึงอาจต้องทำทุกอย่างเป็นดิจิทัลเพื่อให้เร็ว เช่น เอกสารอิเล็กทรอนิกส์, อีเพย์เมนต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับส่วนอื่น ๆ เช่น รถไฟ, รถราง

เรื่องบุคลากรยังปัญหาที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องเจอ โดยเฉพาะการเปลี่ยนวัฒนธรรมไปสู่การทรานส์ฟอร์ม ซึ่งบุคลากรไอที, นักวิทยาศาสตร์ ข้อมูลหายากมาก ดังนั้น ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เพราะเอกชนเองคงทำอะไรไม่ค่อยได้ อาจต้องเสริมตั้งแต่การเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งแนวทางการแก้ไขของภาคเอกชนที่เคยคิดไว้ คือ เทกโอเวอร์บริษัทไอที เพราะเร็วกว่าที่จะไปรอหาคนไอที

ในอดีตเราไม่เคยได้ยินคำว่า “ดิสรัปต์” จนเมื่อมีแอปพลิเคชั่น “แอร์บีเอ็นบี” หรือ “แกร็บ” จึงยากที่จะเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเหมือนบริษัทสตาร์ตอัพได้ เพราะเริ่มต้นมาคนละแบบ ดังนั้นต้องเลือกทางที่ดีที่สุด โดยการเป็นพาร์ตเนอร์กับธุรกิจอื่น ๆ หรือนำเทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุน และแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดบริการที่ดี อีกความท้าทายคือการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ ในขณะที่โลกมีธุรกิจใหม่ ๆ